สถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่
เที่ยว ….อินทนนท์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
วัดพระธาตุศรีจอมทองหรือที่ภาษาเหนือออกเสียงว่า “จ๋อมตอง” เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญมากวัดหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่ที่บ้านลุ่มใต้ ถนนสายเชียงใหม่-ฮอด หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศใต้ประมาณ 58 กิโลเมตร
มีตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทองว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธพยากรณ์ไว้กับพญาอังครัฏฐะ ผู้ครองอังครัฏฐะ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บริเวณดอยจอมทองว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปภายหน้าจะเป็นที่ประดิษฐานพระทักษิณโมลีธาตุ (พระเศียรเบื้องขวา) ของพระองค์
ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง 8 นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ได้กราบทูลเรื่องพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์จึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือแล้วอธิฐานอาราธนาพระบรมธาตุไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำที่พญาอังครัฏฐะได้สร้างถวาย
พระธาตุศรีจอมทอง เป็นพระธาตุประจำตัวของคนเกิดปีชวด จึงมีหนูเป็นสัญญลักษณ์ เดินเข้าห้องน้ำวัด จัดการล้างหน้าแปรงฟันเสียให้เสร็จสรร เสร็จแล้วหยิบเหรียญเงินในกระเป๋าหยอดลงตู้รับบริจาคถือว่าเป็นค่าน้ำค่าไฟให้วัด
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506
ด้านหน้าพระธาตุ บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่
มีตำนานเล่าขานกันเกี่ยวกับ พระทักขิณโมลีธาตุ อันเป็นพระธาตุซึ่งถูกบรรจุอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ดังนี้ เนื่องด้วย ดอยจอมทอง มีสัณฐานเป็นภูเขาดินสูงจากระดับพื้นที่ราบอื่นยอดดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล มีเมือง ๆ หนึ่งชื่อว่า “เมืองอังครัฏฐะ” เจ้าผู้ครองเมืองนั้นชื่อว่า พระยาอังครัฏฐะ
พระยาอังครัฏฐะ ได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “บัดนี้พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้“ เวลานี้ประทับอยู่เมืองราชคฤห์ ในประเทศอินเดีย จึงอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้วจึงเสด็จมาสู่เมืองอังครัฏฐะ ทรงแสดงธรรมและทรงพยากรณ์ ไว้ว่า เมื่อเราตถาคตนิพพานแล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวาของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ดอยจอมทอง แห่งนี้” แล้วเสด็จกลับ
ส่วนพระยาอังครัฏฐะทรงสดับพระดำรัสที่ตรัสพยากรณ์นั้นแล้ว ได้ทรงรับสั่งให้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทองด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่ทรงพยากรณ์ไว้ กาลล่วงมาถึงรัชสมัยแห่งพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย พระองค์ได้เสด็จสู่ดอยจอมทอง ได้ขุดคูหูเปิดอุโมงคใต้พื้นดอยจอมทองแล้วทรงรับสั่งให้สร้างพระสถูปไว้ภายใน
วิหารทรงอัญเชิญพระบรมธาตุที่อยู่ในสถูปที่พระยาอังครัฏฐะรับสั่งให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปประดิษฐานในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้นดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำาคูหาไว้ ทรงอธิษฐานไว้ว่า “ต่อไปข้างหน้า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้ พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ฝูงชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา”
ในกาลต่อมา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๒ ในสมัยที่พระธัมมปัญโญเถระ เป็นเจ้าอาวาส มีตาปะขาวคนหนึ่งเกิดนิมิตฝันว่าเทวดามาบอกว่าที่ใต้พื้นวิหารบนยอดดอย ที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าและพระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป
ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันให้เจ้าอาวาสฟัง ท่านจึงได้ทำการอธิษฐานว่า “ถ้ามีจริงดังความฝันนั้นขอให้พระบรมธาตุจงเสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด” เมื่ออธิษฐานแล้วในวันรุ่งขึ้น ได้พบพระบรมธาตุอยู่ในช่องใจกลางพระเกศโมลีของพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่ภายในวิหารนั้นจึงได้เก็บรักษากันไว้ โดยเงียบๆ สืบมา
พระอุโบสถพ.ศ. ๒๐๕๘ สมัยที่พระมหาสีลปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส ได้มีพระมหาพุทธญาโณเถระ ได้นำตำนานพระทักขิณโมลีธาตุ มาจากเมืองพุกามจึงได้สั่งให้พระอานันทะ ผู้เป็นศิษย์ไปสืบดูพระบรมธาตุที่วัดศรีจอมทอง จึงได้ทำการสักการบูชาอธิษฐานอยู่ ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญเมื่อได้เห็นอาการดังนั้น จึงได้นำเอาพระบรมธาตุที่ได้เก็บรักษากันต่อๆกันออกมาแสดงให้พระอานันทะทราบ พระอานันทะจึงได้นำความไปแจ้งแก่พระมหาพุทธญาโณ ผู้เป็นอาจารย์ ฝ่ายพระมหาพุทธญาโณ เมื่อได้ทราบดังนั้น จึงได้นำความไปทูลพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ให้ทรงทราบ พ.ศ. ๒๐๖๐ พระเมืองแก้ว จึงอาราธนาให้พระมหาพุทธญาโณ เป็นหัวหน้าไปสร้างวิหารจตุรมุข และก่อปราสาทไว้ภายในวิหารนั้น แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าประดิษฐานไว้ภายในปราสาทนั้น พระบรมธาตุจึงได้รับการเก็บรักษาไว้โดยวิธีนี้ ต่อๆ มาจนกระทั่งถึงกาลปัจจุบันนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.readme.me/
I like this website very much, Its a real nice office to read
and obtain information.Blog range